วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นเตรียมทดสอบต้นแบบ "ลิฟต์อวกาศ" ครั้งแรกของโลก (13)

ญี่ปุ่นเตรียมทดสอบต้นแบบ "ลิฟต์อวกาศ" ครั้งแรกของโลก

กราฟิกดาวเทียม

ในสัปดาห์หน้าทีมวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจะลงมือทดสอบความเป็นไปได้ของ "ลิฟต์อวกาศ" (Space Elevator) โดยใช้ต้นแบบขนาดย่อส่วนทดลองเคลื่อนที่ขึ้นลงระหว่างดาวเทียมจิ๋วสองดวงที่อยู่ในวงโคจรของโลก
ปฏิบัติการดังกล่าวถือว่าเป็นการทดลองการเคลื่อนที่แบบลิฟต์ในอวกาศครั้งแรกของโลก โดยในวันที่ 11 ก.ย. นี้จะมีการยิงจรวด H-2B จากศูนย์อวกาศทาเนะงะชิมะซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่นเพื่อนำอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบขึ้นสู่ห้วงอวกาศ
จรวดจะปล่อยดาวเทียมจิ๋วทรงลูกบาศก์ 2 ดวงเพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีต้นทางและปลายทางของลิฟต์อวกาศต้นแบบโดยแต่ละด้านของดาวเทียมมีความกว้างเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น
ส่วนลิฟต์อวกาศต้นแบบซึ่งเป็นกล่องบรรจุเครื่องยนต์ขนาดเล็กจะทดลองเคลื่อนที่ขึ้นลงตามสายเคเบิลเหล็กกล้าความยาว 10 เมตรที่เชื่อมต่อระหว่างดาวเทียมจิ๋วทั้งสองโดยมีกล้องภายในดาวเทียมคอยบันทึกภาพการทดสอบเอาไว้
ระบบลิฟต์อวกาศดังกล่าวริเริ่มออกแบบและพัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยชิซึโอกะและบริษัทโอบะยะชิของญี่ปุ่นโดยก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีทั้งสองหน่วยงานได้ประกาศแผนการคิดค้นและก่อสร้างระบบลิฟต์อวกาศโดยตั้งเป้าให้เริ่มใช้งานได้จริงภายในปี 2050
ตามแผนการดังกล่าวส่วนฐานของลิฟต์อวกาศจะตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและจะก่อสร้างปล่องลิฟต์สูงขึ้นไปจนถึงสถานีอวกาศปลายทางที่ความสูง 35,000 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งทำให้ผู้ใช้ลิฟต์จะต้องใช้เวลาเดินทางราว 9 วันกว่าจะไปถึงสถานีปลายทาง
ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมองกันว่าลิฟต์อวกาศที่สามารถขนส่งผู้คนและสิ่งของจากพื้นโลกขึ้นไปสู่อวกาศได้โดยตรงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการยิงจรวดเนื่องจากประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าทั้งเสียเวลาเตรียมการเดินทางและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากันมาก
อย่างไรก็ตามความคิดเรื่องก่อสร้างระบบลิฟต์อวกาศที่มีมานานกว่า 100 ปีนั้นทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ยากเพราะมีข้อจำกัดมหาศาลทั้งเรื่องวัสดุที่ใช้ซึ่งจะต้องมีน้ำหนักเบาและทนทานแข็งแกร่งเพื่อให้ระบบลิฟต์ที่สูงเกินปกติรับน้ำหนักของตัวเองได้ส่วนโครงสร้างของลิฟต์ต้องสามารถต้านทานต่อแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงหนีศูนย์กลางที่มากระทำรวมทั้งทนต่อสภาพอากาศรุนแรงบนโลกเช่นลมพายุได้ด้วย
-วิเคราะห์ข่าว-
การที่จะสามารถทำลิฟต์ในอวกาศได้นั้นทำได้ยากมาก การทดลองนี้จึงมีโอกาสล้มเหลวค่อนข้างสูง แต่ถ้าทำสำเร็จก็นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

ที่มาข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น